รู้จักการเก็บเชื้ออสุจิด้วยวิธี PESA คืออะไร เหมาะกับใครบ้าง

  • จิปาถะ อื่นๆ
  • nanasese
  • 16
  • 01 พ.ย. 2565 11:37
  • 115.87.232.***

    สำหรับการรักษาภาวะมีบุตรยาก การเก็บอสุจิและไข่จากคู่สมรสถือเป็นขั้นตอนสำคัญก่อนเริ่มการทำเด็กหลอดแก้วหรือการผสมเทียม เพราะอสุจิและไข่ที่สมบูรณ์ย่อมนำไปสู่โอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ ลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ และเพิ่มโอกาสให้ตัวอ่อนสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งวิธีการเก็บอสุจิก็สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสุขภาพของฝ่ายชาย วันนี้เราจะไปเจาะลึกการเก็บเชื้ออสุจิด้วยวิธี PESA กันว่าคืออะไรกันแน่ แล้วใครบ้างที่ควรใช้การเก็บเชื้ออสุจิด้วยวิธี PESA

 

 

    การเก็บเชื้ออสุจิด้วยวิธี PESA คืออะไร?

    ภาวะการมีบุตรยาก ไม่สามารถมีบุตรได้เองตามธรรมชาติที่เกิดจากฝ่ายชายอาจมีสาเหตุมาจากน้ำเชื้อไม่มีตัวอสุจิ เป็นหมัน ท่อนำอสุจิมีปัญหา การเก็บอสุจิโดยตรงจากอัณฑะจึงเป็นวิธีที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ โด้วยการทำ PESA หรือ Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration จะเป็นการใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านผิวหนังบริเวณถุงอัณฑะเข้าไปยังบริเวณท่อพักน้ำเชื้อหรือท่อนำอสุจิส่วนต้น (Epididymis) เพื่อนำน้ำเชื้อไปตรวจวิเคราะห์หาตัวอสุจิและประเมินคุณภาพ ซึ่งแผลจากการใช้วิธีนี้เก็บอสุจิจะมีขนาดเล็กมากจนแทบมองไม่เห็น และการเก็บเชื้ออสุจิด้วยวิธี PESA เป็นวิธีที่เจ็บน้อยกว่าและได้น้ำเชื้อกับตัวอสุจิที่มีคุณภาพดีกว่าการทำ TESA (การเก็บอสุจิจากเนื้อเยื่ออัณฑะ) แต่มีข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือสามารถใช้ได้กับผู้ชายที่ยังมีท่ออสุจิอยู่เท่านั้น

 

    ขั้นตอนในการรักษา

  1. ตรวจหาภาวะการเป็นหมันหรือปัญหาของท่อนำอสุจิ

  2. แพทย์ทำการนัดหมายวันมาทำการเก็บเชื้ออสุจิจากอัณฑะ

  3. ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อทำความสะอาดอัณฑะและบริเวณโดยรอบ

  4. วิสัญญีแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ และบางกรณีอาจร่วมกับการให้ยาระงับความรู้สึกผ่านหลอดเลือดด้วย

  5. ใช้เข็มขนาดเล็กดูดน้ำเชื้อจากท่อนำอสุจิส่วนต้นเพื่อนำน้ำเชื่อไปตรวจหาเชื้ออสุจิ

  6. นอนพักฟื้น 1-2 ชั่วโมงแล้วสามารถกลับบ้านได้

  7. แพทย์จะนำอสุจิที่ได้คุณภาพไปผ่านกระบวนการในห้องปฏิบัติการเพื่อรอปฏิสนธิกับไข่ด้วยกระบวนการ ICSI ต่อไป    

 

    ใครบ้างเหมาะกับการเก็บเชื้ออสุจิด้วยวิธี PESA

  • ผู้ที่อัณฑะทำงานผิดปกติซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือการติดเชื้อคางทูม ทำให้ไม่สามารถสร้างเชื้ออสุจิได้ตามปกติ

  • ผู้ที่มีปัญหาท่อนำอสุจิอุดตันหรือไม่มีท่อนำอสุจิตั้งแต่กำเนิด พบได้ในผู้ที่เป็นพาหะโรค Cystic Fibrosis 

  • ผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อ ได้รับบาดเจ็บ หรือเคยได้รับการผ่าตัดซึ่งส่งผลต่อการมีบุตรยาก

  • ผู้ที่เคยผ่านการทำหมันมาแล้วหรือเคยแก้หมันแล้วไม่สำเร็จ