แจม “อรงค์กต พินโปน” เซอร์ไพรส์...! ในญี่ปุ่น | Motocross,Honda,อรงค์กต พินโปน

บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด สานต่อความฝันของ “ยุวชนไทย” ในกีฬา มอเตอร์ สปอร์ต ประเภทการแข่งขันรถจักรยานยนต์โมโตครอส ในรายการ 2008 MFJ Motocross All Japan Motocross Championship รุ่น Junior Cross วันที่ 24-25 พฤษภาคม 2551 ณ สนามแข่ง Green Park Koraguen,Hiroshima
เอ.พี.ฮอนด้า ได้ต่อเติมความฝันให้ยุวชนจากจังหวัดปราจีนบุรี ด.ช.อรงค์กต พินโปน นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 ของโรงเรียนปราจีนกัลยานี ซึ่งเป็นเด็กที่มีความสามารถและพรสวรรค์ ในด้านกีฬาแข่งรถจักรยานยนต์ประเภทโมโตครอส อรงค์กต เริ่มเข้าสู่วงการกีฬา มอเตอร์ สปอร์ต ตั้งแต่อายุ 6 ปี และได้แสดงความสามารถและพรสวรรค์ในด้านกีฬาแข่งรถจักรยานยนต์ประเภท โมโตครอส อย่างโดดเด่นจนปัจจุบัน อีกทั้งยังมีความตั้งใจและมุ่งมั่น เพื่อจะสู่จุดสูงสุดของการเป็นนักกีฬาแข่งรถจักรยานยนต์อาชีพต่อไป


เอ.พี.ฮอนด้า ซึ่งเป็นผู้นำด้านมอเตอร์ สปอร์ต ของประเทศไทยและมีนโยบายที่จะส่งเสริมเยาวชนทุกคนที่มีความสามารถในด้านกีฬามอเตอร์ สปอร์ต จึงได้สานต่อความฝันให้แก่ อรงค์กต เพื่อให้มีประสบการณ์ในการแข่งขันในระดับนานาชาติเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถของไทยต่อไป ได้มีการวางแผนเพื่อจะส่ง อรงค์กต เข้าร่วมการแข่งขันในประเทศญี่ปุ่น ด้วยการประสานงานกับ FMSCT สมาพันธ์กีฬาแข่งรถจักรยานยนต์แห่งประเทศไทย โดยคุณธงชัย วงษ์สวรรค์ ประธานสมาพันธ์ฯ ช่วยอำนวยความสะดวกในการประสานงานกับ MFJ (สมาพันธ์แข่งขันรถจักรยานยนต์ประเทศญี่ปุ่น) เพื่อการส่งนักแข่งในรุ่น จูเนียร์ ของไทยเข้าร่วมการแข่งขันในรายการ All Japan Motocross ซึ่งได้รับความร่วมมือและการต้อนรับจาก MFJ เป็นอย่างดียิ่ง อีกทั้ง เอ.พี.ฮอนด้า ได้ประสานงานไปยัง ฮอนด้า มอเตอร์ (สำนักงานใหญ่ ประเทศญี่ปุ่น) ฝ่ายมอเตอร์ สปอร์ต โดย Mr.Tosio Aoki เพื่อการเตรียมพร้อมในเรื่องรถแข่งที่จะใช้ในการแข่งขันและทีมแข่งที่จะช่วยสนับสนุนในระหว่างการแข่งขัน ซึ่งทาง ฮอนด้า มอเตอร์ ฝ่ายมอเตอร์ สปอร์ต ได้ประสานงานกับทีม TE Sport โดย Mr. Yasuo Tohfukuji ผู้จัดการทีมและเจ้าของทีมแข่ง TE Sport ซึ่งเป็นอดีตแชมป์ของประเทศญี่ปุ่นยาวนานถึง 8 ปี มาเป็นผู้ดูแลและให้การสนับสนุนตลอดการแข่งขัน


23 พฤษภาคม 2551 เวลา 01.00 น. ทีมงานออกเดินทางจากประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน All Japan Motocross ในรุ่น Junior Cross ทีมงานเดินทางถึงประเทศญี่ปุ่นในเวลา 08.30 น. เจ้าหน้าที่ฝ่ายมอเตอร์ สปอร์ต ฮอนด้า มอเตอร์ โดย Mr.Noboru Sato เดินทางมารอรับที่สนามบิน Hiroshima เพื่อเดินทางเข้าสู่สนามแข่ง ซึ่งในวันที่เดินทางไปถึงนี้ทางสนามยังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงสนามเพื่อการแข่งขัน ทีมแข่งต่างๆ ก็เตรียม พิท เตรียมรถแข่ง ของตนเองเพื่อการแข่งขันในวันต่อไป
ทีมงานเดินทางถึงสนามแข่ง เวลาประมาณ 10.30 น. รถแข่งของอรงค์กต ได้จอดพร้อมแข่งขันอยู่ในพิทของทีม TE Sport

รถแข่ง CRF150R เบอร์ 99 รถแข่งของอรงค์กต พินโปน


วันนี้ทีมงานเราเดินทางมาถึงสนามแข่ง เรื่องรถแข่งไม่ต้องเป็นกังวลทุกอย่างเตรียมพร้อมอยู่แล้ว สิ่งสำคัญที่เราต้องทำคือการสำรวจ สภาพสนามแข่งให้ละเอียด สังเกตไลน์ในแต่ละโค้ง สังเกตลูกระนาด และเนินกระโดดต่างๆ ควบคู่กับแผนผังของสนามแข่ง โดยคุณสาคร อยู่เย็น ผู้จัดการทีมจะคอยแนะนำให้แก่ อรงค์กต เพื่อให้จดจำสภาพของสนามในแต่ละจุด


ถึงตอนเย็นก่อนเดินทางกลับที่พัก Mr.Sato เจ้าหน้าที่ฝ่ายมอเตอร์ สปอร์ต ของ ฮอนด้า มอเตอร์ ได้แจ้งให้ทีมงานเราทราบว่า ในวันพรุ่งนี้ซึ่งเป็นวันซ้อมและแข่งขันฝนจะตก ซึงเป็นการรายงานสภาพอากาศ ของเมือง ฮิโรชิม่า จากนั้นเดินทางกลับเข้าที่พักที่ ฮอนด้า มอเตอร์ ได้จัดเตรียมไว้ให้ โรงแรมที่พักดังกล่าวเป็นโรงแรมของคนไทยที่แต่งงานกับคนญี่ปุ่น ทีมงานของเราได้รับการต้อนรับอย่างดีและอบอุ่นในฐานะที่เป็นคนไทย อีกทั้งเจ้าของโรงแรมก็เป็นคนปราจีนบุรี (คนจังหวัดเดียวกันกับ อรงค์กต) จึงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและอาหารที่โรงแรมจัดเตรียมไว้ก็เป็นอาหารไทย


อรงค์กต ร่าเริง สนุกสนาน และไม่มีความวิตกกังวลแต่อย่างใดกับการเดินทางแข่งขันครั้งแรกในประเทศประเทศญี่ปุ่น
24 พฤษภาคม 2551 ทีมงานออกเดินทางจากที่พักเวลาประมาณ 05.30 น. เพื่อลงทะเบียนและนำรถแข่งไปเข้าตรวจสภาพในเวลา 07.00 น. เมื่อเดินทางถึงสนามแข่งทีมงานพร้อมด้วย Mr.Tohfukuji ผู้จัดการทีมแข่ง TE Sport ได้ให้การดูแลทีมแข่งและนักแข่งของ เอ.พี.ฮอนด้า เราเป็นอย่างดี โดยเป็นคนนำรถแข่งเบอร์ 99 ของอรงค์กต ไปเข้าแถวเพื่อตรวจสภาพเอง
ถึงแม้สภาพอากาศฝนจะตกปรอยๆอยู่ตลอดเวลา ตามคำพยากรณ์ที่ Mr.Sato ได้แจ้งไว้เมื่อเย็นวันที่ 23 ว่าวันที่อรงค์กต จะแข่งขันนั้นฝนจะตกตลอดทั้งวัน เชื่อถือได้จริงๆเรื่องการพยากรณ์สภาพอากาศ ของญี่ปุ่น ว่าสภาพอากาศในแต่ละเวลาในแต่ละวันจะเป็นอย่างไร ฝนจะตก อากาศจะเย็นลง หรือท้องฟ้าโปร่ง เชื่อถือได้เลย..

Mr.Tohfukuji ผู้จัดการทีม TE Sport พา อรงค์กตและนำรถแข่ง ไปตรวจสภาพก่อนแข่ง


เมื่อการตรวจสภาพรถแข่งของรุ่น Junior Cross เสร็จสิ้นลงแล้ว อรงค์กต ก็นำรถแข่งกลับมายัง พิท เพื่อเตรียมตัวและเตรียมความพร้อม ก่อนการซ้อมครั้งแรกของรุ่น Junior Cross ในเวลา 08.40 น.
อรงค์กต ได้ให้ผู้จัดการทีมคือ คุณสาคร อยู่เย็น เตรียมอุปกรณ์ที่ตัวเองคุ้นเคยมากที่สุดไปจากเมืองไทยนั่นก็คือ แฮนเดิ้ลบาร์ (แฮนด์) ที่ใส่และใช้แข่งอยู่ในประเทศไทย นำมาเปลี่ยนใส่กับรถแข่งเบอร์ 99 ที่จะใช้ซ้อมและแข่งต่อไป


ในรุ่น Junior Cross จากรายชื่อนักแข่งผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้นมีมากถึง 44 คน ซึ่งนักแข่งจะมีอายุระหว่าง 10-14 ปี จากรายชื่อผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันมีมากถึง 44 คน เวลาในการซ้อมเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับสนามนั้นมีเวลาให้ซ้อมเพียง 10 นาทีเท่านั้น
ได้เวลาลงทำการฝึกซ้อม 08.15 น.ทีมงานได้นำรถแข่งมาเตรียมพร้อม ณ จุดเก็บรถแข่งหลังเส้นสตาร์ท เมื่อถึงเวลาเริ่มการซ้อม กรรมการปล่อยรถทั้งหมดที่สมัครไว้ ลงซ้อมพร้อมกัน ซึ่งในขณะเวลานั้นฝนก็ยังคงตกอยู่ตลอดเวลา สภาพสนามแข่งเริ่มเปียก เละ และลื่น เวลาการซ้อมเพียง 10 นาที ทีมงานก็นึกเป็นกังวลแทนนักแข่งอยู่พอสมควร ว่าจะสามารถขับขี่เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับสภาพสนามแข่งได้กี่รอบ เพราะว่าสนามมีความยาวถึง 1.6 กิโลเมตร ในรุ่น IA-1 (450 cc.) ทำเวลาเฉลี่ยต่อรอบ 1.50 นาที ในสภาวะสนามแข่งแห้งปกติ
พวกเราทีมงานประเมิณสถานะการณ์ ว่าในรุ่น Junior Cross น่าจะทำเวลาอยู่ประมาณ 2.30 นาที/รอบในสภาวะสนามที่เปียกรื่นอย่างนี้ ในการขับขี่ซ้อมของรุ่นนี้น่าจะขี่ได้ไม่เกิน 4 รอบเท่านั้นเมื่อคำนวนจากสถิติของเวลาต่อรอบ...อรงค์กต ออกสตาร์ท ตามกลุ่มหน้าที่ออกไปก่อน โดยจะวิ่งวนขวาไปก่อนครึ่งสนามและถึงจะวนกลับมา เพื่อวนในสนามใหญ่อีกครั้ง ดังรูป

>อรงค์กต ออกสตาร์ทออกไปยังไม่ครบรอบ สนามเล็ก (ตามจุดสีแดง) ดังรูป อรงค์กตกระโดดจั๊มเนินลงมาปรากฎว่า แฮนด์ที่นำไปจากเมืองไทยที่เปลี่ยนเข้าไปนั้นหัก(อันเนื่องจากมีร้อยร้าวเดิมอยู่ก่อนหน้านี้ซึ่งไม่มีใครทราบได้ว่า แฮนด์ ดังกล่าวมีรอยร้าวอยู่ก่อนหน้านี้ อรงค์กต พยายามขับรถทั้งที่มีแฮนด์บังคับเพียงข้างซ้ายข้างเดียวกลับมายังพิท ให้เร็วที่สุด ในใจหวังว่าจะเปลี่ยนและลงซ้อมได้ทันแม้เพียง ได้ขับขี่ในรอบใหญ่สักรอบก็ยังดี..


แต่ด้วยเวลา ที่จำกัดให้ซ้อมเพียง 10 นาที ทีมงานของเราทั้งไทยคุณสาครและช่างทุกคนของทีม TE Sport ต่างจะพยายามถอดประกอบเพื่อให้ อรงค์กต ได้มีโอกาสได้ลงซ้อมอีกครั้งแต่สุดท้าย เวลาของการซ้อมของรุ่น Junior Cross ก็หมดลง อรงค์กต ไม่ได้ลงซ้อมและไม่ได้มีโอกาส สัมผัสสนามแข่งในรอบใหญ่เลย..เป็นที่น่าเสียดาย..ยิ่งนัก...อรงค์กต หน้าตาค่อนข้างเครียด ที่ไม่ได้มีโอกาสได้ซ้อมสนามในครั้งนี้ คุณสมคิด ศรีสมยศ ในฐานะหัวหน้าชุดในการเดินทางจากเมืองไทยในครั้งนี้ จึงได้พูดเพื่อให้กำลังใจกับทีมงานและนักแข่งว่า “อุบัติเหตุในครั้งนี้ขอให้ทุกคนได้จดจำไว้ให้ดี อุบัติเหตุ แฮนด์หัก ในครั้งนี้ถือว่าพวกเราทุกคนโชคดี ที่หักในช่วงของการซ้อมเรายังสามารถจะแก้ตัวได้ในช่วงของการแข่งขันรอบคัดเลือกได้ แต่ถ้าเราโชคร้ายกว่านี้หาก แฮนด์ของเรา หักในช่วงการแข่งขันรอบคัดเลือกหรือหักในช่วงของการแข่งขัน พวกเราจะไม่มีโอกาสแก้ตัวได้เลย”
เวลาผ่านไปทีมงานทุกคนเริ่มมีกำลังใจกันขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อเรายังมีโอกาสแก้ตัวในช่วงของการแข่งขันในรอบคัดเลือกอีกครั้ง..ทีมงานได้ติดตามผลของการแบ่งกลุ่มแข่งขันในรอบคัดเลือกว่า อรงค์กต จะอยู่ในกรุ๊ปไหน เพราะว่ามีผู้สมัครจำนวนถึง 44 คัน ผู้จัดการแข่งขันจึงได้แบ่งรุ่นการแข่งขันในรอบคัดเลือกออกเป็น 2 กรุ๊ปคือ กรุ๊ป A. และ กรุ๊ป B. เมื่อรายชื่อออกมาแล้วปรากฎว่า อรงค์กต อยู่ในกรุ๊ป B. ซึ่งในกรุ๊ป B. มีจำนวนนักแข่งลงแข่งขันคัดเลือกจำนวน 22 คัน ทั้งกรุ๊ป A. และกรุ๊ป B. จะคัดเลือกไว้กรุ๊ปละ 16 คัน เต็ทเกตสตาร์ท จำนวน 32 คัน
การแข่งขันรอบคัดเลือกของกรุ๊ป A. เริ่มขึ้นในเวลา 12.45 น. ตั้งแต่เช้าจนถึงกลางวันฝนตกปรอยๆตลอดเวลา สภาพสนามแข่ง เละ มากยิ่งขึ้นเนื่องจากการซ้อมของรุ่นต่างๆผ่านไปก่อนหน้านี้ ในการแข่งขันรอบคัดเลือกนั้นเนื่องจากการแข่งขันในรุ่นนี้เป็นรุ่นของยุวชน การแข่งขันจะทำการแข่งขัน 5 นาที บวก 1 รอบ..เท่านั้น


การแข่งขันของกรุ๊ป B. เริ่มในเวลา 12.55 น.ทำการแข่งขัน 5 นาทีบวก 1 รอบเช่นเดียวกันกับรุ่น Junior cross กรุ๊ป A ทีมงานได้นัดแนะและกำชับกับ อรงค์กต ก่อนที่จะไปทำหน้าที่ชูป้าย Sign Board ในสนาม ว่า “ออกสตาร์ท ให้ดี พยายยามเกาะกลุ่มหน้าให้ได้ ที่สำคัญคือ ต้องให้ติด 1 ใน 15 อันดับให้ได้ เพื่อจะได้เข้าร่วมแข่งขันในรอบชิงต่อไป อรงค์กต รับทราบด้วยการรับปากอย่างมั่นใจว่าต้องทำได้..ทันที่ที่เกท สตาร์ทล้มลง อรงค์กต พุ่งออกจากเกทสตาร์ อยู่ในกลุ่มหน้าได้ ในรอบแรกผ่านไป อรงค์กต สามารถขับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 5 ในรอบที่ 2 อรงค์กต ขยับขึ้นมาอีก 1 อันดับ อยู่ในอันดับที่ 4 และในรอบที่ 3 อรงค์กต ก็สามารถขับขี่ได้ดีเกินคาด ขยับขึ้นมาอีกหนึ่งอันดับ มาอยู่ในรอบที่ 3 จากเวลาของการแข่งขัน กำหนดไว้ 5 นาทีบวก 1 รอบนั้นในรอบที่ 4 จึงเป็นรอบสุดท้ายของการแข่งขัน อรงค์กต จบการแข่งขันในอันดับที่ 3 และยังสามารถทำเวลา Best lap ได้ดีกว่าทุกคนในกรุ๊ป B.

ผลการแข่งขันในรอบคัดเลือกของกรุ๊ป B.
จากผลการแข่งขันในรอบคัดเลือกผ่านไป อรงค์กต สามารถทำผลงานได้ดีเกินความคาดหมาย ทั้งที่ในช่วงของการซ้อมนั้นไม่ได้มีโอกาสได้ซ้อมในสนามใหญ่ เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุขึ้นก่อน ทีมงานทุกคนทั้งคนไทยและทีมงานญี่ปุ่น ต่างมีกำลังใจขึ้นมาก จาการแข่งขันรอบคัดเลือกจบลง
อรงค์กต ได้รับความสนใจจากทีมแข่งอื่นๆเป็นอย่างมาก หลายคนหลายทีมเดินมาแสดงความยินดีและทักทายกับทีมงานของเรา อรงค์กต เองก็รู้สึกผ่อนคลายไปได้มากเมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้นลง
เมื่อผู้จัดการแข่งขันได้นำผลของการแข่งขันทั้งสองกรุ๊ป มาจัดอันดับเพื่อการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ในช่วงเย็น อรงค์กต อยู่ในอันดับที่ 5 คือสามารถเลือกเกทสตาร์ทเป็นคนที่ 5 ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจากนักแข่งทั้งสิ้น 32 คัน

ผลการจัดอันดับการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศของรุ่น Junior cross เริ่มขึ้นในช่วงเย็นเวลา 16.20 น. ตลอดทั้งวันฝนตกปรอยๆทั้งวัน ทำให้สภาพสนาม เละ เป็นโคลน มากยิ่งขึ้น เมื่อใกล้ถึงเวลาการแข่งขัน ทุกคนนำรถเลื่อนเข้าประจำเกทสตาร์ท ที่คิดว่าจะสามารถออกสตาร์ทได้ดีที่สุด ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศนี้จะทำการแข่งขันทั้งสิ้น 10 นาที บวก 1 รอบ


การแข่งขันเริ่มขึ้นทันที เมื่อเกทสตาร์ทล้มลง อรงค์กต ก็ยังคงออกสตาร์ทได้ดี พุ่งออกจากเกทสตาร์ทมาอยู่ในอันดับที่ 4 และผ่านโค้งแรกไปอยู่ในกลุ่มหัวแถว ในกลุ่มหลังล้มกันระเนระนาด


รอบแรกผ่านไป อรงค์กต ขยับอันดับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 2 และเป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก เมื่อลงเนินใหญ่ อรงค์กต อยู่ห่งจากอันดับที่ 1 เพียงประมาณ 1 ช่วงรถ คิดว่า อรงค์กต จะพยามพุ่งแซงขึ้นเป็นผู้นำ แต่ด้วยสภาพสนามที่เปียกและลื่น อรงค์กต พลาดลื่นล้มลงอย่างน่าเสียดาย


ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสู้ต่อ อรงค์กต ยกรถขึ้นด้วยความรวดเร็ว พยามยามสตาร์ทอยู่นานที่เดียวกว่ารถจะติดทำให้อันดับรูดลงไปจากอันดับที่ 2 ไปอยู่ในอันดับ 15 พอสตาร์ทติดแล้ว อรงค์กต พยายามสุดความสามารถในการขับและต้องไม่พลาดและล้มอีกครั้งจะยิ่งทำให้เสียโอกาสไปอีก เวลาการแข่งขัน 10 นาทีบวก 1 รอบนั้นรวดเร็วเหลือเกินอรงค์กต พยายามไล่แซงคันแล้วคันเล่า สุดท้ายเมื่อจบการแข่งขัน สามารถไล่แซงขึ้นมาได้หลายอันดับ เมื่อผ่านธงตราหมากรุก และผลการแข่งขันอย่างเป็นทางการประกาศ อรงค์กต จบการแข่งขันในอันดับที่ 8 จากผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้นจำนวน 32 คัน

ผลการแข่งขัน รุ่น Junior Cross


ถือเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทีมงานของ เอ.พี.ฮอนด้า ที่ได้มีโอกาสในการแข่งขันที่ประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้
เอ.พี.ฮอนด้า ขอขอบคุณ FMSCT สมาพันธ์กีฬาแข่งรถจักรยานยนต์แห่งประเทศไทย MSAT สมาคมกีฬาแข่งรถจักรยานยนต์แห่งประเทศไทย ที่ช่วยในการประสานงานและอำนวยความสะดวก ในการเข้า

เว็บไซต์เพิ่มเติม : http://www.aphonda.co.th/2008/2008_page267.asp?id=455