แดร็ก มีโอ รุ่น ออโตเมติกโอเพ่น

รถยามาฮ่ามีโอจัดการดัดแปลงสภาพใหม่ชิ้นแฟริ่งถูกเปลือยโล่งเกือบทั้งคัน
เห็นเป็นกระดูกเหล็กติดเครื่องเท่านั้นบังลมหน้าตัดจนบางเหลืออันนิดเดียวปิดกันโล้นมากเกินไป
ช่วงท้ายก็เปิดก้นไว้เพื่อให้ลมลื่นไหลได้มากขึ้นตามหลักพลศาสตร์ แอร์โร่ไดนามิค เบาะนั่งปาดฟองน้ำออกตัดแต่งให้บางลงและหุ้มด้วยหนังลาย พื้นเหยียบเปลือยโล่งเหลือเพียงแผ่นพลาสติกอันนิดเดียวสำหรับวางเท้าของนักแข่ง
เฟรมตัวถังตัดส่วนเกินบางอย่างที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก สายไฟต่างๆ ตัดต่อใช้เฉพาะส่วนที่จำเป็นและก็เก็บให้มิดชิดเพื่อการทำงานที่ง่ายขึ้น และปรับแต่งช่วงระยะตำแหน่งต่างๆ ใหม่ ให้นักแข่งสามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น เริ่มกันที่ด้านหน้าสุด โช้คอัพกระบอกต้องเซ็ทให้ดีเพราะว่ามีส่วนช่วยในการขับขี่ กระบอกกลึงผิวเพื่อลดน้ำหนักและตัดแกนกดเตี้ยพร้อมกับเซ็ทน้ำมันโช้คใหม่ให้คุมรถได้ง่ายขึ้น แผงคอตัวล่างสร้างขึ้นมาใหม่ด้วยอลูมินั่มเน้นที่ความเบา ระบบเบรกใช้คาลิเปอร์ดิสก์ของเดิมเล็กดีแต่ยังใช้ได้เยี่ยม
จานดิสก์สแตนดาร์ดจับขึ้นเครื่องเจาะเพิ่มรูสำหรับระบายความร้อนเพิ่ม ขอบวงล้อใช้เป็นอลูมินั่มของ DID ขนาด 1.20x17 ตามระเบียบ ยางสไตล์แดร็กขนาด 50/100-17 ของ ไออาร์ซีป้ายเหลืองเป็นที่รู้กันของนักบิดทางตรง
ควบคุมบังคับด้วยแฮนด์ที่ปรับองศาใหม่กดหมอบลงมาตามสเต็ป เพิ่มความรู้สึกเน้นๆ ด้วยประกับคันเร่งแบบทดรอบบิดได้สั้นแต่รอบมาเร็วแบบรถสูตรมันได้อารมณ์กว่า และสวมด้วยปลอกแฮนด์เนื้อนิ่มเกาะติดแน่น ปั๊มเบรกโชว์กระปุกตามสไตล์เรซซิ่งสปอร์ตพร้อมกับติดตั้งสวิทช์ เปิด/ปิด สตาร์ทเครื่องยนต์อยู่ในตำแหน่งที่ง่ายสำหรับนักแข่ง ช่วงหลังปรับเซ็ทให้เข้าชุดกับช่วงหน้าด้วยขอบวงล้ออลูมินั่ม ขนาด 1.40x17 เน้นความเบา สวิงอาร์มข้างถอดออกมั่นใจในโช้คอัพหลังแก๊สของ Gazi เบรกหลังแบบดรัมก็ยังใช้งานได้ดีแบบนี้ไม่ต้องเปลี่ยนใหม่จากเรื่องของการเซ็ทช่วงเสร็จเรียบร้อยแล้วก็มาดูกันที่เครื่องยนต์ที่โมดิฟายกันเต็มๆ
ริ่มด้วยเสื้อสูบคว้านขยายความจุเพื่อใส่กับลูกสูบขนาด 66 มม. ไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ฝาสูบปาดตามสูตร ขยายช่องไอดีเป็น 26 มม. วาล์วหันไปใช้ของใหญ่สุดฮอต F4 สปริงวาล์วเพิ่มความแข็งด้วยการหาค่า K ขึ้นใหม่ ส่วนแคมชาฟ์ทหัวใจสำคัญของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ สร้างขึ้นใหม่โดยโรงกลึงดำคลองเตย 330 องศา ก้านสูบยืดเป็น 9 มม.เสริมตีนเสื้อเป็นเซ็น ล้วงลงไปที่ตับเป็ดข้อเหวี่ยงโมฯ ใหม่เพิ่มน้ำหนักและตั้งศูนย์ถ่วงใหม่ ปลายจะได้ไหลได้ดีกว่าเดิม และประกบด้านข้างด้วยลูกปืนรอบสูงหมุนติ้วกันติดขัด อัตราการทดเฟืองท้ายใช้เฟืองแบบหยาบ 20/37 ไล่เม็ดถ่วงน้ำหนักขนาด 12 กรัม 6 เม็ด เหมาะสำหรับระยะทาง 402 เมตร ชุดสายพานตัดเปลือยโล่งโชว์ชามพูลเล่ย์กลึงหน้าเรียบเพื่อให้สายพายทำงานได้อย่างราบรื่น ดุมล้อหลังกลึงเงาเจาะร่องระบายความร้อนด้วย
เครื่องยนต์มีกำลังอัดเพิ่มขึ้นอัตราการจ่ายน้ำมันก็ต้องปรับการจ่ายให้พอดี คาร์บูเรเตอร์จับเอาของ NSR PROARM ขยายปากขึ้นเป็น 32
เปลือยกรองอากาศออกเพื่อให้รับอากาศได้มากขึ้น และปรับเซ็ทนมหนูเพื่อการเดินที่สะดวกขึ้นใช้นมหนูเมนเบอร์ 135 และนมหนูอากาศเบอร์ 45 ตั้งเข็มเร่งไว้ที่ล็อค 2 ปรับจูนรอบให้สัมพันธ์กันระหว่างรอบเครื่องยนต์กับอากาศ 1 รอบ โดยประมาณ ระบบไฟกันรวนก็ต้องปรับกระแสให้คงที่ด้วย กล่องไฟของเดิมโมฯและใช้แบตเตอรี่แห้งขนาด 12 โวลต์ เป็นตัวเลี้ยงไฟ ท่อไอเสียขึ้นรูปทรงตามสูตรของ 4 จังหวะ ตัดต่อช่วงคอโตและสวมด้วยปลายกลึงขนาดใหญ่ผลงานการส้รางของ โรงกลึง ดำคลองเตย
สุดท้ายก็เป็นการเทสเครื่องยนต์ด้วยการขับขี่หาข้อผิดพลาดในส่วนต่างๆ
พราะว่าการโมดิฟายเครื่องยนต์ใหม่ส่วนอื่นๆ อาจจะยังไม่ลงตัวต้องเซ็ทให้เข้ากัน ยิ่งซ้อมมากก็จะได้เปรียบ นักแข่งจะได้เข้าใจถึงระบบการทำงานของเครื่องยนต์ของรถแข่งแล้วก็จะทำให้การขับขี่ง่ายขึ้นด้วย
ความแรงแบบสุดๆ ของรุ่นออโตเมติก ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ยังเหลือตัวแรงอีกหลายๆ คันที่จ่อรอคิวให้ได้ชำแหล่ะเครื่องยนต์เอามาให้ได้ดูกัน ว่าเทคนิคการปรับแต่งเครื่องยนต์นั้นเป็นอย่างไรกันบ้างถึงสามารถคว้าแชมป์มาครองได้ หรืออยากให้ไปชำแหล่ะตัวแรงของทีมไหนก็เขียนส่งเข้ามาได้ ยินดีรับใช้แฟนๆ