5 สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไตต้องผ่าตัดไตซ้ำอีกหนมีอะไรบ้าง ?

  • มอไซค์ คาเฟ่
  • totheworld
  • 0
  • 08 ส.ค. 2565 10:25
  • 119.76.15.***

 

เมื่อผู้ป่วยโรคไตเข้ารับการรักษาด้วยวิธีฟอกเลือดและล้างไตไปสักระยะ ก็คงจะตระหนักรู้ได้ถึงความไม่สะดวกสบายในหลาย ๆ ด้าน ดังนั้น ผู้ป่วยหลายคนจึงเลือกที่จะรักษาด้วยการผ่าตัดไตใหม่แทนที่ไตเก่ากันอยู่เนือง ๆ ซึ่งจะช่วยให้การใช้ชีวิตกลับมามีความสุขได้อีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการปลูกถ่ายไตไปแล้ว ผู้ป่วยก็มีสิทธิ์ที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดใหม่อีกหน ทว่าสาเหตุหลัก ๆ นั้นมาจากอะไรกันแน่ ? ถ้าอยากรู้ ตามไปหาคำตอบกันได้เลย !

 

1.ไตที่ผ่าตัดปลูกถ่าย เกิดการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน

เมื่อผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่สำเร็จแล้ว ผู้ป่วยก็ต้องดูแลรักษาร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง เพราะไตใหม่ที่เพิ่งได้รับมานั้น สามารถเสื่อมสภาพลงตามอายุได้เหมือนกับไตของคนปกติ ซึ่งส่วนมากไตที่ทำการผ่าตัดไปจะมีอายุการใช้อยู่ที่ราว ๆ 10 ถึง 20 ปี แต่ถ้าหมั่นดูแลรักษาไตเป็นอย่างดี ก็จะสามารถยืดอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้นไปอีก

 

2.โรคประจำตัวผู้ป่วย ที่ส่งผลกระทบต่อการปลูกถ่ายไต

ผู้ป่วยบางรายอาจมีโรคประจำตัวซึ่งเป็นต้นเหตุของภาวะไตวายตั้งแต่แรกเริ่มอยู่ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไตอักเสบบางชนิด จึงอาจส่งผลกระทบต่อการปลูกถ่ายไตใหม่หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้นไปแล้ว

 

3.ร่างกายต่อต้านไตใหม่ที่เพิ่งทำการปลูกถ่ายไป

หนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยต้องผ่าตัดไตซ้ำ โดยการที่ร่างกายต่อต้านไตใหม่นั้นเป็นผลมาจาก ระบบภูมิคุ้มกันไปทำลายเนื้อไต การทานยากดภูมิไม่สม่ำเสมอ ภูมิคุ้มกันดื้อยาจนเกิดภาวะสลัดไตชนิดเฉียบพลัน ฯลฯ ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคไตจะใช้ยาและการฟอกน้ำเหลืองในการรักษา เพื่อให้ไตกลับมาทำงานได้ตามปกติ แต่สำหรับผู้ป่วยบางส่วนที่ยังมาภาวะไตวายกำเริบ ก็จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดไตซ้ำอีกครั้ง

 

 

4.ผลกระทบจากภาวะการสลัดไต

กล่าวคือ ภาวะภูมิคุ้มกันที่ทำลายลงอย่างช้า ๆ หรือ Chronic Rejection ส่งผลให้ไตที่เพิ่งปลูกถ่ายไปเสื่อมสภาพ และไม่สามารถใช้งานได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ โดยอาการจะหนักขึ้นเมื่อเข้าสู่ปีที่ 3-5 หลังการผ่าตัดไต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการฟอกไตในระหว่างที่รอการเปลี่ยนไตใหม่ซ้ำเป็นครั้งที่สอง

 

5.ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสบางชนิด

เชื้อไวรัสที่มีผลต่อการทำงานของไตโดยตรง ได้แก่ เชื้อไวรัสบีเค (BK Virus) และเชื้อไวรัสอะดีโน (Adenoviruses) นอกจากนี้ยังมีการติดเชื้ออื่น ๆ ที่มีความรุนแรงถึงขนาดว่าแพทย์ต้องลดปริมาณการให้ยากดภูมิลง จนสุดท้ายผู้ป่วยก็ต้องจำใจเปิดแผลผ่าตัดไตใหม่อีกหน เนื่องจากไตมีภาวะการสลัดไต หรือ Chronic Rejection นั่นเอง

 

แม้ว่าการผ่าตัดไตซ้ำอีกครั้งเนื่องด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากและต้องต่อคิวนานรอรับบริจาคไตนาน แต่เมื่อเทียบกับการต้องเดินทางไปโรงพยาบาลทุกอาทิตย์เพื่อฟอกเลือด หรือล้างท้องเองที่บ้านเป็นประจำ วิธีการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไตใหม่นับว่าผู้ป่วยจะได้คุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเป็นไหน ๆ