กฎหมาย pdpa สำคัญอย่างไร ทำไมทุกธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับมือ

  • มอไซค์ คาเฟ่
  • jbtsaccount
  • 0
  • 18 มี.ค. 2564 15:34
  • 49.48.18.***

          วันนี้เราจึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับกฎหมาย pdpa มาฝาก รับรองว่าเตรียมพร้อมรับมือได้ง่ายขึ้นแน่นอน

  • มีการวางแผนจัดการข้อมูลอย่างรัดกุม

เมื่อจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นหน้าที่หลักของเจ้าของธุรกิจคือ การดูแลข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัย ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์นอกเหนือจากที่แจ้งแก่เจ้าของข้อมูล ซึ่งนอกจากการนำเครื่องมือมาใช้ในการจัดการแล้ว อาจต้องการตั้งผู้ควบคุมข้อมูลทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ และผู้ประมวลผลทำหน้าที่รับคำสั่งหรือกระทำการแทนผู้ควบคุมข้อมูล และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทำหน้าที่เป็นคณะกรรมควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติม ทั้งนี้การนำเครื่องมือมาใช้และมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบอย่างเป็นระบบนั้นจะช่วยให้การจัดการ จัดเก็บ และการรักษาความปลอดภัยเป็นมาตรฐานมากขึ้น

  • ได้รับความยินยอมอย่างถูกต้อง และโปร่งใส

สำหรับความหมายของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 คือ ข้อมูลส่วนบุคคลที่ระบุตัวตนได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ นามสกุล รูปภาพ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล ประวัติการทำงาน สัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ รสนิยมทางเพศ ข้อมูลพันธุกรรม ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง ซึ่งหลังจากประกาศใช้กฎหมายเต็มรูปแบบแล้วไม่ว่าจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลผ่านกระดาษหรือออนไลน์ทุกครั้ง ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลโดยตรง ได้มาด้วยความถูกต้อง โปร่งใส เท่านั้น ห้ามมาจากแหล่งข่าวอื่นอย่างเด็ดขาด

  • ชี้แจงและเขียนนโยบายที่เข้าใจง่าย

ก่อนการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลทุกครั้ง องค์กรผู้เก็บข้อมูลจำเป็นต้องแสดงรายละเอียดให้ชัดเจนว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวมทั้งหมดจากเจ้าของข้อมูลจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องใด วัตถุประสงค์ในการเก็บ ระยะเวลาสิ้นสุดการใช้ประโยชน์จากข้อมูล รวมทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน อ่านแล้วเข้าใจได้ในทันที

  • บอกรายละเอียดเกี่ยวกับการนำข้อมูลไปใช้ให้ครบถ้วน

เนื่องจากตามกฎหมาย pdpa เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิ์ด้านข้อมูลส่วนบุคคลกับประชาชนทั่วไป จึงได้มอบสิทธิ์ความเป็นเจ้าของให้กับเจ้าของข้อมูลแบบเต็มที่ ด้วยเหตุนี้ผู้เก็บข้อมูลจำเป็นต้องแจ้งหรือแสดงสิทธิ์ตามที่กฎหมายกำหนดให้แก่เจ้าของข้อมูลได้ทราบ ได้แก่ สิทธิในแจ้งรายละเอียดจากผู้ใช้ข้อมูล สิทธิการแก้ไขข้อมูล สิทธิการขอให้โอนถ่ายข้อมูล สิทธิการเข้าถึง สิทธิการคัดค้าน สิทธิการลบ สิทธิการจำกัดการใช้งาน และสิทธิการเพิกถอนคำยินยอม เพื่อเป็นแนวทางในการเข้าถึงสิทธิ์ของตัวเองภายหลังจากให้ข้อมูลแล้ว

  • ผู้ใช้งานต้องสามารถเข้าถึงการยกเลิกได้อย่าง Real Time

เหตุผลที่ทุกองค์กรควรมีเครื่องมือ โปรแกรม หรือช่องทางรองรับการถอนคำยินยอมได้แบบ Real Time นั้น เพราะหากมีการถอนความยินยอมของเจ้าของข้อมูลเมื่อใด เจ้าหน้าที่ก็สามารถยกเลิกการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้เช่นเดียวกัน

         สรุปโดยรวมจะเห็นได้ว่ากฎหมาย pdpa คือ กฎหมายที่ออกมาเพื่อรักษาสิทธิ์ด้านข้อมูลให้กับคนไทย ไม่ให้ถูกนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่รับอนุญาตอย่างเช่นที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นหากองค์กรใดมีการเก็บช้อมูล ใช้ประโยชน์ ประมวลผลหรือถ่ายโอนข้อมูลของคนไทย ไม่ว่าหน่วยงานนั้นจะอยู่ในประเทศหรือต่างประเทศก็ถือว่าต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เช่นนั้นอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งโทษทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง

 

ที่มาข้อมูล

  • https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/tips-for-you/pdpa-about-us.html
  • https://www.fusionsol.com/blog/pdpa -คือ/
  • https://www.everydaymarketing.co/update-news/7- -เรื่อง-pdpa-ที่ผู้ประกอบการ/
  • https://www.marketingoops.com/news/biz-news/pdpa-columbus-agency/
  • https://icdl.online.th/content/2194/
  • https://techsauce.co/tech-and-biz/pdpa-big-data-private-law