5 ธุรกิจเกี่ยวกับ กฎหมาย pdpa ที่ประชาชนควรรู้
- มอไซค์ คาเฟ่
-
jbtsaccount
- 0
- 24 พ.ย. 2563 17:32
- 49.48.45.***
กฎหมาย pdpa (Personal Data Protection Act) กลายเป็นเรื่องที่ถูกหยิบมาพูดถึงอย่างกว้างขวางตลอดหลายปีมานี้ เนื่องจากการสื่อสารดิจิตอลและสื่อโซเชียลมีเดียที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในดำเนินชีวิตของทุกคนในปัจจุบัน ทำให้เส้นแบ่งระหว่างความเป็นส่วนตัวกับการถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลกลายเป็นเรื่องที่แยกได้ยากมากขึ้น กว่าจะรู้ตัวอีกที ข้อมูลส่วนบุคคลของเราก็อาจจะถูกละเมิดไปแล้วก็ได้
ทั้งนี้ นิติบุคคลหรือธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บหรือรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลแบ่งได้เป็น 5 ธุรกิจใหญ่ ได้แก่
1. ธุรกิจธนาคาร
ธุรกิจธนาคารเป็นแหล่วงรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลชั้นยอด ทั้ง ชื่อ ที่อยู่ บัตรประชาชน บัตร ATM บัตรเครดิต ไปจนถึงประวัติการทำทุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งหากข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้รั่วไหลไปยังบุคคลภายนอกก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลได้และยังถือเป็นการทำผิดวัตถุประสงค์ของผู้ให้ข้อมูลอีกด้วย ดั้งนั้น pdpa คือ กลไกที่จะช่วยให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการเข้าถึง แก้ไข และยินยอมให้ธนาคารใช้ข้อมูลส่วนตัวทำธุรกรรมอะไรได้บ้างเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเจ้าของข้อมูล
2. ธุรกิจประกันภัย
ธุรกิจประกันถือเป็นธุรกิจกึ่งสถาบันการเงินที่เต็มไปด้วยข้อมูลส่วนบุคคล แต่หลายกรณีที่ข้อมูลเหล่านี้ได้มาอย่างไม่ถูกต้อง เช่น บางคนไม่เคยติดต่อหรือทำธุรกรรมอะไรกับบริษัทประกันมาก่อนเลย แต่กลับได้รับสายโทรเข้าจากนายหน้าขายประกันซึ่งรู้ทั้งชื่อและเบอร์โทรศัพท์ แปลว่าข้อมูลส่วนตัวที่เคยให้ไว้กับธุรกิจอื่นก่อนหน้านี้อาจรั่วไหลไปแล้วนั่นเอง ดังนั้น pdpa คือ กลไกสำคัญที่จะคอยกำกับดูแลการและป้องกันการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างผิดวัตถุประสงค์ในลักษณะนี้
3. ธุรกิจเกี่ยวกับด้านอสังหาริมทรัพย์
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอีกหนึ่งกิจการที่จำเป็นต้องขอข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ทั้ง ชื่อ ที่อยู่ อีเมลล์ ไปจนถึงสถานะทางการเงิน นอกจากเพื่อติดต่อหรือทำธุรกรรมกับลูกค้าแล้ว ธุรกิจอสังหาฯ หลายแห่งก็ใช้ข้อมูลที่ได้มาเพื่อวางแผนการทำธุรกิจของตัวเองด้วย pdpa (อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://www.marketingoops.com/news/biz-news/pdpa-columbus-agency/) จึงเป็นกฎหมายที่จะทำหน้าที่กำกับดูแลให้ธุรกิจอสังหาฯ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถูกต้อง ไม่ใช้ผิดวัตถุประสงค์จนกลายเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล
4. ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
ธุรกิจท่องเที่ยวทั้งโรงแรม รีสอร์ท รวมถึงสถานประกอบการต่าง ๆ ด้านการท่องเที่ยวล้วนเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน ไปจนถึงพฤติกรรมการใช้บริการ โดยธุรกิจบางแห่งใช้ข้อมูลเหล่านี้คาดการณ์แนวโน้มตลาดเพื่อวางแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้า กฎหมาย pdpa จึงทำหน้าที่กำกับดูแลให้การใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ให้ข้อมูล ไม่รั่วไหลไปถึงมือบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้อง
5. ธุรกิจด้าน E-commerce
ธุรกิจ E-commerce เปรียบได้กับท้องทะเลแห่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งข้อมูลบางอย่างเป็นข้อมูลส่วนตัวที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน เช่น รสนิยมการบริโภคสินค้า เพศ เชื้อชาติ สีผิว ศาสนา ความเห็นทางการเมือง ฯลฯ ข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งสืบค้นได้ไม่ยาก ซึ่งธุรกิจ E-commerce บางแห่งใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อวางแผนทางธุรกิจของตัวเอง ดังนั้น กฎหมาย pdpa จึงคอยป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ถูกใช้หรือเผยแพร่โดยผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ได้รับความยินยอมของเจ้าของข้อมูล เหมือนอย่างกรณีของ Facebook หรือ Google ที่ถูกแฉว่านำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานมาประมวลผลก่อนจะยิงโฆษณาออนไลน์นั่นเอง
นอกจากนี้ กฎหมาย pdpa ยังถือเป็นกฎหมายที่มีระวางโทษค่อนข้างสูง หากธุรกิจเหล่านี้ไม่ปฏิบัติตามก็อาจมีความผิดแบ่งได้เป็น 3 ลำดับ ได้แก่
1). โทษทางอาญาคือจำคุกไม่เกิน 1 ปี และ/หรือ ปรับสูงสุด 1 ล้านบาท
2). โทษทางแพ่ง จ่ายสินไหมไม่เกิน 2 เท่าของสินไหมที่แท้จริง
3). โทษทางปกครอง ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท
https://www.primal.co.th/th/marketing/what-is-pdpa/
https://brandinside.asia/pdpa-privacy-law/
https://www.enablerspace.com/th/digitalmarketingtips/what-is-pdpa/
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/840245
https://medium.com/@chonnuttida/personal-data-protection-act-pdpa-ff9bcbfe1490
https://www.twfdigital.com/blog/2020/05/prepare-website-for-pdpa/